ขั้นตอนสำคัญที่ห้ามมองข้ามในเรื่องการเงิน

ทำงบประมาณการใช้จ่าย
ก่อนจะเริ่มขั้นแรกอย่างเต็มตัว เราต้องรู้จักการทำงบประมาณรายจ่ายในแต่เดือนของเรา เช่น เดือนหน้าเราจะมีเงินเข้ากระเป๋าเรา 20,000 บาท เราจะนำเงินทั้งหมดนี้ไปทำอะไรบ้าง รวมถึงจะออมกี่บาทด้วย ให้เขียนแผนทุกเดือน เดือนต่อเดือนไปเรื่อยๆ ให้เราเป็นนายของเงิน กำหนดให้เงินจำนวนเท่าไหร่ไปทำอะไรบ้าง

เก็บเงินสด 10,000 บาท เป็นทุนตั้งต้นสำหรับเงินสำรองเผื่อฉุกเฉินของเรา
ออมเงินให้ได้ 10,000 บาทให้เร็วที่สุด เงินจำนวนนี้จะเก็บไว้ใช้ยามฉุกเฉินจริงๆ หากต่อมาเราไปถึงขั้นต่อไปแล้ว แต่มีเหตุให้ใช้เงินฉุกเฉิน เราจะต้องกลับมาที่ขั้นนี้ใหม่เพื่อเติมเงินฉุกเฉินของเราให้เต็มอีกครั้งก่อนจะไปต่อ
จ่ายหนี้ให้หมด ไม่รวมหนี้บ้าน

ทำรายการหนี้สินทั้งหมดที่เรามี โดยเรียงจากจำนวนน้อยที่สุดไปมากที่สุด
เราต้องจ่ายหนี้ขั้นต่ำสำหรับหนี้ทุกก้อน แต่ให้จ่ายหนี้ก้อนที่เล็กที่สุดให้มาก เราหาเงินได้เพิ่มเท่าไหร่ ให้นำไปโปะหนี้ก้อนเล็กนี้ก่อนจนจ่ายหมด แล้วขยับมาโปะก้อนต่อๆ ไป จนหมดทุกก้อน ยกเว้นเงินกู้บ้านซึ่งถือเป็นก้อนใหญ่และเราจะจ่ายให้หมดในภายหลัง ขั้นตอนนี้จะสำเร็จได้เราต้องเสียสละ ทำงานหนัก และมุ่งมั่น เราอาจต้องทำงานพิเศษเพิ่มเติม ขายอะไรได้ให้ขายไปก่อน รวมถึงหยุดลงทุนเพื่อการเกษียณแม้ว่าบริษัทจะสมทบให้ก็ตาม เป้าหมายของขั้นนี้คือจ่ายหนี้ให้หมดก่อน และตั้งแต่นี้เป็นต้นไปไม่ก่อหนี้เพิ่มอีก

เติมเงินสำรองเผื่อฉุกเฉินของเราให้เต็ม
ประมาณ 18-20 เดือนหลังจากเริ่มปฏิวัติชีวิต เราน่าจะมาถึงขั้นที่สามนี้ ขั้นนี้ให้ต่อยอดจากเงินสำรองเผื่อฉุกเฉินตั้งต้นของเรา โดยหลักทั่วๆ ไปแล้วเราควรจะมีเงินสำรองไว้ให้สามารถใช้จ่ายได้ 3-6 เดือน เช่น หากค่าใช้จ่ายต่อเดือนของเราคือ 15,000 บาท เราควรจะมีเงินสำรองเผื่อฉุกเฉินทั้งหมด 45,000-90,000 บาท

นำเงิน 15% ของรายได้ไปลงทุนเพื่อใช้ในวัยเกษียณ
นำเงิน 15% ของรายได้ก่อนหักภาษีไปลงทุนในกองทุนรวมหุ้นที่มีผลการดำเนินงานดีอย่างต่อเนื่องในช่วงเวลามากกว่า 5-10 ปีที่ผ่านมา โดยให้เลือกกองทุนที่นายจ้างหรือรัฐสมทบก่อน และอาจจะกระจายการลงทุนในกองทุนหุ้นแบบต่างๆ เช่น หุ้นเติบโตและหุ้นปันผล หุ้นต่างประเทศ เป็นต้น

เก็บเงินให้ลูกได้เรียนต่อ
กฎของการเรียนต่อในระดับสูง หรือระดับมหาวิทยาลัยนั้น หนึ่ง คือให้จ่ายเงินสด สองคือเราต้องมีเงินสดหรือทุนการศึกษา ไม่ควรก่อหนี้เพิ่ม การเริ่มเก็บเงินสำหรับการศึกษาลูกตั้งแต่เนิ่นๆ จะช่วยให้เขาไม่ต้องเป็นหนี้